Skip to content

Infoblox

INFOBLOX next lavel networking

Infoblox เป็นบริษัทด้าน IT automation และ network security จากสหรัฐอเมริกา ที่สามารถตอบโจทย์การทำธุรกิจในยุคดิจิทัล โดยการเชื่อมต่อ network คือสิ่งสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ IoT, machine learning, blockchain ฯลฯ โลกของเราได้เติบโตเกินการเชื่อมต่อแบบเดิมๆ โดยเข้าสู่ยุคใหม่ที่เรียกว่า Hyperconnect ที่การเชื่อมต่อนั้นต้องสร้างความรวดเร็ว คล่องตัว และปลอดภัยในเวลาเดียวกัน
ซึ่ง Infoblox ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1999 ที่เมืองชิคาโก ทางบริษัทมีจุดขายคือโซลูชั่นด้านความปลอภัยของ Domain Name System (DNS), Dynamic Host Configuration Protocol (DHCP) และ IP address management ซึ่งทั้งสามส่วนนี้รวมเรียกกันว่า DDI

ซึ่ง DDI ย่อมาจากระบบ DNS , DHCP และ IP Address Managment เป็นระบบ Service ที่มีความสำคัญมาก ทำหน้าที่เชื่อมโยงทุกสิ่งในระบบ Network เข้าหากัน หากเกิดปัญหาทางด้านระบบ Network ย่อมส่งผลเสียต่อการดำเนินธุรกิจ ระบบ Network มีการพัฒนามากขึ้น IP Address Management สามารถใช้จัดการ IP ขององค์กรแบบอัตโนมัติทั้ง IPv4 และ IPv6 ทั้งที่เป็น Physical และ Virtual Systems ให้ความสะดวกกับผู้ดูแลระบบ ทำให้แก้ปัญหา Network ได้อย่างรวดเร็วกว่าการจัดการแบบเดิม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้งาน Infoblox DNS & DHCP

คือ การทำให้อุปกรณ์เชื่อถือได้มากขึ้น ( Hardening OS ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้สูงสุด

  1. ไม่สามารถ Root Access ได้ ทั้งยังได้รับการรับรองอุปกรณ์โดยการผ่าน Certified Common Criteria EAL2 ไม่ต้องห่วงเรื่องช่องโหว่ของอุปกรณ์ รวมทั้งการ Update Antivirus
  2. ไม่กังวลเรื่องความจุ (Capacity ) ของอุปกรณ์เนื่องจาก มีการระบุชัดเจนถึงความสามารถของอุปกรณ์
  3. รองรับการบริหารจัดการแบบ Centralize management ในกรณีที่มีอุปกรณ์หลายๆ ตัว
  4. สามารถใช้ประโยชน์จากระบบ IP Tracking ได้แบบ Real Time เพื่อตรวจสอบข้อมูลว่า IP Address ที่แจกไป รวมถึงสามารถบริหาร IP Address ที่ยังไม่ถูกใช้งานได้อย่างไม่มีข้อขัดข้อง
  5. รองรับ HA และ DHCP Fail Over เพื่อรองรับการทำงานกรณีที่เกิดปัญหา
  6. สามารถออกรายงานเชิงสถิติเพื่อเสนอต่อผู้บริหารด้วย Infoblox reporter

Network Design 

ระบบการบริหารจัดการและควบคุมการใช้งาน DHCP และ IP Address ของหลาย ๆ ที่มักจะถูกออกแบบมาให้ใช้ Server เพื่อ Control และ Management ซึ่งจะพบได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรไหนที่ยังใช้ระบบเดิมอยู่จะประสบปัญหาดังนี้

  1. ระบบปฏิบบัติการเป็นเครื่อง Server ทำให้ต้อง Hardening Server เนื่องจาก Server มี Vulnerability ค่อนข้างมากและต้องมีการ Update Anti-virus อยู่ตลอด
  2. ไม่สามารถกำหนดการแจก IP Address หรือจำกัดการใช้งานที่แน่นอนได้เนื่องจากระบบ Server ไม่รองรับการกำหนดค่าการแจก IP Address ที่แน่นอน
  3. การใช้บริหาร Server ที่ซับซ้อนต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้งาน
  4. ระยะเวลาที่ใช้ในการ Manage ต่อ 1 IP คิดตามค่าเฉลี่ยค่อนข้างนาน
  5. ไม่มีระบบ HA รองรับกรณีที่เครื่อง Server ที่ใช้ในการแจก DHCP เกิดปัญหา
  6. เนื่องจากการแจก IP Address ที่มากขึ้นทำให้การทำงานของเครื่อง Server หนักขึ้น บางครั้ง Server เกิดอาการ Hang และ restart ตัวเองบ่อย ๆ โดยที่ทาง Admin เองก็ไม่ทราบสาเหตุ ต้องแก้ปัญหาโดยการเพิ่ม RAM หรือ CPU ของเครื่องเพื่อให้รองรับการใช้งานได้ ซึ่งไม่สามารถประเมินการทำงานที่แท้จริงได้
  7. กรณีที่มีการตั้งเครื่อง Server เพื่อแจก DHCP หลาย ๆ เครื่อง ข้อมูลไม่มีการ Synchronize กันเนื่องจากต้องแยกบริหารจัดการ Server แต่ละเครื่อง
  8. ข้อมูล IP Address ที่มีระบบไม่มีการ Update แบบ Real time
  9. การทำ Policy เพื่อแยกแจก IP Address ตามชนิดของอุปกรณ์ทำได้ยาก
  10. กรณีที่เกิดปัญหาและต้อง Restore จาก Back up ข้อมูลที่นำมาใช้ไม่ up to date และนี่เป็นเพียงปัญหาที่พบบ่อยจากการใช้งาน Server ช่วยในการจดจำและบริหารจัดการ IP Address

IP ADDRESS MANAGEMENT (IPAM)

ระบบบริหารจัดการ IP Address หรือ IP Address Management นั้นในปัจจุบัน มีส่วนช่วยในการบริหารจัดการ IP Address ให้เป็นไปได้ง่ายขึ้น เมื่อต้องก้าวเข้าสู่ยุคของ IPv6 เป็นไปได้ยากที่เราจะ Manage IP ผ่านระบบ Manual อย่างเดิมแล้วไม่เกิดข้อผิดพลาด ทำให้ผู้ดูแลระบบการแจก IP ต้องทำงานที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

เพราะเหตุใด IPAM จึงเข้ามามีบทบาทในการดูแล Network Core Service

  1. 1 User มีการ request เพื่อขอ IP Address 3-7 IP ต่อ 1 คน
  2. การ Manage ผ่านระบบ Manual เป็นได้ได้ช้าด้วยปริมาณ IP Address ที่เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจเกิดข้อผิดพลาด
  3. อัตราการขยายตัวของ IP Address มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา
    – Mobility and IP device growth
    – IPv6 and DNSSEC
    – Data center virtualization
  4. การทำ Capacity และ Inventory planning เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจ

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และรับบริการสาธิตโซลูชัน (POC)

ติดต่อได้ที่…

คุณฐนรัชส์ ชัยรัตนศักดา (Product Manager)

Email : Tanaratc@itgreen.co.th

Mobile :  089-698-2553

เว็บไซต์ตัวแทนจำหน่าย